ศาสนบริกรฆราวาสต้องรับใช้และอย่าอวดอ้างตนเองเป็นสำคัญ (Lay ministers must serve and never become self-referential)
เมื่อวันเสาร์ที่ 22 เมษายน 2023 พระสันตะปาปาฟรังซิสได้ตรัสกับผู้เข้าร่วมการประชุมสามัญของสมณกระทรวงเพื่อฆราวาส ครอบครัว และชีวิต (Dicastery for Laity, Family and Life) ในหัวข้อ “คริสตชนฆราวาสและบทบาทหน้าที่การเป็นศาสนบริกรในพระศาสนจักรที่ก้าวเดินไปด้วยกัน (The laity and Ministeriality in the Synodal Church) โดยไตร่ตรองถึงความหมายของการปฏิบัติศาสนกิจในพระศาสนจักร และบทบาทของคริสตชนฆราวาสที่ต้องเน้นที่พันธกิจและการรับใช้
คริสตชนฆราวาสในพระศาสนจักรสามารถและต้องทำพันธกิจที่ได้รับมอบหมาย จากหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ โดยไม่ควร “อวดอ้างตนเอง” แต่ให้ “เปลี่ยนแปลงสังคม” โดยนำค่านิยมของคริสตชนไปสู่โลก
“ความเต็มใจที่จะรับใช้พี่น้องและในระหว่างพวกคุณกันเองเพื่อรับใช้พระเยซูเจ้า เป็นแรงจูงใจที่แท้จริงที่จะต้องสร้างแรงบันดาลใจ ให้กับผู้ที่มีความเชื่อที่รับภาระงานของพระศาสนจักร และความมุ่งมั่นในการเป็นพยานยืนยันของคริสตชนความเป็นจริงที่พวกเขาดำเนินชีวิตอยู่”
ที่มาของการปฏิบัติศาสนกิจในพระศาสนจักร (The origin of the ministeriality of the Church)
เมื่อเราพูดถึงการปฏิบัติศาสนกิจของพระศาสนจักรโดยทั่วไป เรามักจะคิดถึงศาสนบริกรที่ “ถูกแต่งตั้งขึ้น” เช่น ผู้อ่านพระวรสาร (Lector) ผู้ช่วยพิธีกรรม (Acolyte) และครูคำสอน (Catechist) “ซึ่งทุกคนรู้จักกันดี”
อย่างไรก็ตาม เขากล่าวว่าศาสนบริกรที่ได้รับการแต่งตั้งเหล่านี้ “ไม่ได้แสดงถึงขอบเขตทั้งหมดของศาสนบริกรของพระศาสนจักร ซึ่งมีขอบเขตกว้างขวางกว่านั้น ที่คลอบคลุมไปตั้งแต่กลุ่มคริสตชนกลุ่มแรกไปยังผู้ที่มีความเชื่อทุกคน
ผู้ที่ได้รับศีลล้างบาปแล้วทุกคนได้รับบทบาทหน้าที่ในการเป็นพระสงฆ์ (The common priesthood of all the faithful based on Baptism)
ต้นกำเนิดของศาสนบริกรอยูที่พิธีศีลล้างบาป และพระพรจากพระจิตเจ้าที่ได้รับ ทำให้การทำหน้าที่แห่งการเป็นพระสงฆ์ในศีลล้างบาป ถูกแสดงออกมาในการปฏิบัติหน้าที่ของศาสนบริกรต่าง ๆ ในพระศาสนจักร
ทั้งนี้เพราะผู้ที่รับศีลล้างบาปแล้วทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นฆราวาส คนโสด คนที่แต่งงานแล้ว นักบวช ต่างก็ผู้ที่เชื่อในพระคริสตเจ้า (Christifideles) ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับพันธกิจต่าง ๆ ทั้งหมดในพระศาสนจักร เป็นพิเศษ สำหรับศาสนบริกรต่าง ๆ ที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการจากพระศาสนจักร
การปฏิบัติศาสนกิจของฆราวาส โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “เกิดจากพระพรที่พระจิตเจ้าทรงแจกจ่ายให้กับประชากรของพระเจ้าเพื่อแบ่งปันและใช้พระพรนี้ให้บัง สิ่งนี้อธิบายได้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่า เหตุใดการปฏิบัติศาสนกิจของศาสนจักรจึงไม่สามารถ “ลดระดับลงเป็นเพียงพันธกิจที่จัดตั้งขึ้นเท่านั้น แต่ควรรวมขอบเขตที่กว้างใหญ่กว่า”
มีส่วนร่วมในหน้าที่ประกาศกและกษัตริย์ของพระเยซูเจ้า (Participating in the prophetic and regal function of Christ)
แม้กระทั่งทุกวันนี้ เช่นเดียวกับชุมชนคริสตชนกลุ่มแรก ที่ต้องเผชิญกับความต้องการเฉพาะด้านอภิบาล โดยไม่ต้องอาศัยศาสนบริกร บรรดาผู้อภิบาลสามารถมอบหน้าที่พิเศษบางอย่างให้กับคริสตชนฆราวาสได้ นั่นก็คือการให้บริการชั่วคราว เช่นในกรณีของการประกาศพระวาจา และการแจกศีลมหาสนิท
“นอกเหนือจากพันธกิจที่จัดตั้งขึ้น องค์กร และหน่วยงานอื่น ๆ ที่ได้รับความไว้วางใจเป็นประจำ คริสตชนฆราวาสสามารถทำงานต่าง ๆ ได้ ซึ่งแสดงออกถึงการมีส่วนร่วมในงานประกาศพระวาจา และหน้าที่แห่งการเป็นพระสงฆ์ของพระคริสตเจ้า ไม่เพียงแต่ภายในศาสนจักรเท่านั้น แต่ยังอยู่ในสภาพแวดล้อมที่พวกเขาอาศัยอยู่ด้วย เช่น ในการเข้าถึงผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความยากจนในรูปแบบเก่าและใหม่ รวมถึงผู้อพยพ
ศาสนบริกรครอบครัว (Family ministry)
การทำงานอภิบาลครอบครัว ซึ่งมีความเกี่ยวข้องมากขึ้นในปัจจุบัน ในแง่ของความท้าทายมากมายที่ครอบครัวกำลังเผชิญอยู่ และเป็นจุดสนใจอีกประการหนึ่งของการสมัชชา
เมื่อระลึกถึงการทำงานของนักบุญพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 และนักบุญพระสันตะปาปาเปาโลที่ 6 พันธกิจด้านการศึกษาของครอบครัว เปรียบได้กับการเป็นศาสนบริกรแห่งการประกาศข่าวดี
พันธกิจและการรับใช้ (Mission and service)
พันธกิจ การรับใช้ งานที่ได้รับมอบหมาย และสำนักงานทั้งหมดนี้ “จะต้องไม่อวดอ้างตนเอง” แต่มีสองสิ่งพื้นฐานที่เหมือนกัน นั่นก็คือ “พันธกิจและการรับใช้” เพราะสิ่งเหล่านี้ “เป็นการแสดงออกถึงพันธกิจเดียวของพระศาสนจักรและล้วนเป็นรูปแบบการให้บริการแก่ผู้อื่น”
“ข้าพเจ้าอยากเน้นว่าต้นตอของคำว่า “ศาสนบริกร” (Ministry) มีคำว่า “ลบ” (minus) ซึ่งแปลว่า “ผู้เยาว์” ดังที่พระเยซูเจ้าทรงตรัสว่า “ผู้ใดที่ปรารถนาจะเป็นใหญ่ จะต้องทำตนเป็นผู้รับใช้ผู้อื่น และผู้ใดที่ปรารถนาจะเป็นคนที่หนึ่งในหมู่ท่าน ก็จะต้องทำตนเป็นผู้รับใช้ทุกคน” (มก 10:43-44)
โดยการรับใช้พี่น้องและในพวกเขา เท่านั้นที่ผู้ที่รับศีลล้างบาปแล้วจะสามารถค้นพบความหมายของชีวิตของตนเอง มีความสุขจากการปฏิบัติตามพันธกิจที่ได้รับบนโลกนี้ ซึ่งถูกเรียกให้มาปฏิบัติในหนทางและรูปแบบที่แตกต่างกัน เพื่อที่จะนำแสงสว่าง พระพร ทำให้มีชีวิตชีวา ลุกขึ้นสู้ เยียวยารักษา และทำให้เป็นอิสระ