การประชุมสหพันธ์สภาพระสังฆราชเอเชีย แผนกฆราวาสและครอบครัว (Federation of Asian Bishops’ Conference – FABC Office of Laity and Family)

การประชุมสหพันธ์พระสังฆราชเอเชีย #ฝ่ายคริสตชนฆราวาสและครอบครัว (Federation of Asian bishop’s Conferences – Office of Laity and Family หรือ FABC-OLF)

ระหว่างวันอังคารที่ 23 – วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม 2024

ณ ศูนย์อภิบาลคามิลเลียน ลาดกระบัง

โดยพระอัครสังฆราชกิลเบิร์ต เอ การ์เชรา แห่งอัครสังฆมณฑลลิปา ฟิลิปปินส์ ประธานฝ่ายคริสตชนฆราวาสและครอบครัว สหพันธ์พระสังฆราชเอเชีย (Most Rev. GILBERT A. GARCERA, D.D., Archbishop of Lipa, Philippines, Chairman, Office on Laity and Family (FABC)

ตัวแทนประเทศไทยที่เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ คือ

  1. พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี ประธานคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตชนฆราวาส สภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิก
  2. คุณพ่อพิชาญ ใจเสรี ผู้ช่วยเลขาธิการฝ่ายอภิบาลคริสตชน สภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย
  3. คุณพ่อภูวนารถ แน่นหนา ผู้อำนวยการแผนกครอบครัว สภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย
  4. คุณพ่อนุพันธุ์ ทัศมาลี ผู้อำนวยการแผนกคริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลจันทบุรี

หัวข้อการประชุมในครั้งนี้ คือ “ #วิถีทางแบบการเตรียมตัวเป็นคริสตชนสำหรับชีวิตแต่งงาน ” (Catechumenal pathways for married life pastoral guidelines for local Churches)

1) #หนทางแห่งการก้าวเดินไปด้วยกัน (Synodal Principles of the Pathways)
2) #คำแนะนำและวัตถุประสงค์ของการอภิบาล (Guidelines and Pastoral Proposals)

  • การดำเนินงานของสภาพระสังฆราชต่าง ๆ ของการวางแผนการแต่งงาน 3 ปี และการนำไปใช้ (National Conferences’ reporting and updating on marriage Preparation 3 years planning: National response to the Marriage Pathways
    3) #การปกป้องฝูงแกะของเรา (Protecting our flock)
    4) #การป้องกันคือเสาหลักในพันธกิจของพระศาสนจักร (Safeguarding as the cornerstone of the Church Mission)

แนวทางการสอนคำสอนสำหรรับคู่สมรส คำแนะนำด้านอภิบาลสำหรับพระศาสนจักรท้องถิ่นต่าง ๆ ออกโดย สมณกระทรวงเพื่อคริสตชนฆราวาส ครอบครัว และชีวิต (Catechumenal Pathways for married life, pastoral guidelines for local Churches by Dicastery of Laity, Family and life) เผยแพร่เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2022 หลังจากปิดปีครอบครัวในเดือนมิถุนายน 2022

สถานการณ์ปัจจุบัน (Actual Situations)

การแต่งงานไม่ถูกต้องเพิ่มมากขึ้น สถิติการแต่งงานในพระศาสนจักรลดลง คำร้องขอยกเลิกพันธะของการแต่งงานเพิ่มขึ้น อันเนื่องมาจาก การไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริงของความรัก การสมรส ข้อคำสอนของพระศาสนจักรเรื่องศีลสมรสและครอบครัว

ข้อเสนอแนะใหม่ (New Advices)

ควรมีการเตรียมตัวแต่งงาน 3 ระยะ คือ ระยะไกล ระยะกลาง และ ระยะใกล้ การเป็นเพี่อนร่วมทางในปีแรกของการแต่งงาน การอยู่เคียงข้างครอบครัวที่กำลังประสบปัญหา แต่ละสังฆมณฑลควรมีแนวทางอภิบาลด้านครอบครัวอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน อาศัยชุมชนแห่งความเชื่อคอยส่งเสริมสนับสนุนและช่วยเหลือ (ครอบครัวช่วยเหลือครอบครัว)

ข้อเสนอแนะของพระสันตะปาปาฟรังซิส (Pope Francis’ concerns)

การเตรียมตัวคู่สมรสสำหรับการแต่งงานควรทำให้ดี ละเอียดถี่ถ้วน โดยเริ่มต้นจากประสบการณ์ความเชื่อกับพระเยซูเจ้ามาเป็นอันดับแรก แต่ละสังฆณฑลต้องออกแบบให้เข้ากับท้องถิ่น สอนเรื่องความหมายที่แท้จริงของค่านิยมทางเพศและการสมรส

เหตุผลของการสอนคำสอนคู่สมรส (Reason of Catechumenal Pathways for married life)

พระสันตะปาปาฟรังซิสให้ความสำคัญกับงานอภิบาลครอบครัวมาอย่างต่อเนื่อง มีการสมัชชา 2 ครั้งในปี 2014-2015, ออกสมณลิขิตเตือนใจความปีติยินดีแห่งความรัก (Amoris Letizia), การประกาศปีครอบครัว 2021-2022, และเอกสารแนวทางการสอนคำสอนสำหรับคู่สมรสนี้

การสอนคำสอน “ไม่จบเพียงแค่สติปัญญา ทฤษฎี และคำสอนทั่วไป” แต่ต้อง “สัมผัสกับชีวิตจริง” และก้าวเดินไปพร้อม ๆ กับเขา เพื่อให้พวกเขาได้พบกับพระเยซูเจ้า ผู้ที่รับผิดชอบ
พันธกิจนี้ คือ ชุมชนพระศาสนจักรทั้งหมด ซึ่งไม่ใช่กิจกรรมทางสังคม (Social Event)

การแต่งงานไม่ใช่เป้าหมาย แต่เป็นกระแสเรียก (ตลอดชีวิต)เป็นเส้นทางสู่ความศักดิ์สิทธิ์ อาศัยการมีส่วนร่วมในบทบาทหน้าที่ของการเป็นประกาศก พระสงฆ์ และกษัตริย์ ของพระคริสตเจ้า การเตรียมตัวรับ “ศีลสมรส” เช่นเดียวกับการเตรียมตัวรับ “ศีลบรรพชา” (ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งความเป็นหนึ่งเดียวกัน) ที่ต้องใช้ระยะเวลายาวนาน “พระสงฆ์-นักบวช” ต่างก็เกื้อกูล “คู่สมรส” ทั้งสอง ให้กำเนิด สนับสนุน ช่วยเหลือ และเป็นเพื่อนร่วมทางกันและกัน คู่สมรสต้องมีบทบาทในการอบรมคู่สมรสใหม่ อาศัยประสบการณ์ที่ตนมี ไม่ควรที่จะให้พระสงฆ์ฝ่ายเดียวทำการอบรมคู่สมรสใหม่ เพราะอาจขาดประสบการณ์บางอย่างที่คู่แต่งงานมี

แนวทางสำหรับสังฆมณฑล (Diocesan Pathway)

แต่ละสังฆมณฑลต้องเตรียมเส้นทางของการสอนคำสอน 3 ระยะ โดยปรับให้เข้ากับวัฒนธรรมของสังฆมณฑลนั้น ๆ ตามปัจจัยและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแต่งงาน คือ

1) #การเตรียมแต่งงาน
2) #การแต่งงาน และ
3) #การเริ่มต้นแต่งงานในช่วงปีแรก ๆ

เนื้อหาเกี่ยวข้องกับ คุณค่าและศักดิ์ศรีของชีวิต กระแสเรียก ความหมายของศีลศักดิ์สิทธิ์ที่ลึกซึ้ง การกลับใจ การเลือกที่จะแต่งงาน การต้อนรับพวกเขาเข้าสู่ชุมชน การอยู่เคียงข้าง การมีพี่เลี้ยงหรือพ่อแม่พยานอย่างใกล้ชิด

ทีมงานอาจประกอบไปด้วยคู่สมรสที่ได้รับเลือกจากพระสงฆ์ บางคนอาจแยกทางกันอยู่แต่ยังคงซื่อสัตย์ต่อศีลศักดิ์สิทธิ์ก็ได้ ควรมอบหมายคู่สมรสหลายคู่ดีกว่าเพียงคู่เดียว มีความหลากหลายในช่วงอายุ และประสบการณ์ในการแต่งงาน

ให้ความรู้ในเรื่องศีลธรรมทางเพศ เช่น การคุมกำเนิด การผสมเทียม ที่มีผลทางจริยธรรม ความสัมพันธ์ และจิตวิญญาณของคู่สมรส แต่ละขั้นตอนเริ่มต้นและสิ้นสุดด้วยพิธีกรรม การอธิษฐานภาวนา การฟื้นฟูจิตใจ เพื่อให้ความเชื่อ พระคัมภีร์ ศีลศักดิ์สิทธิ์ ได้เป็นส่วนหนึ่งของการสอนคำสอน (เช่น การสร้างพระแท่นบูชาของครอบครัว)

ระยะและขั้นตอนต่างๆ (Period and Method)

ก) #ระยะไกล เริ่มตั้งแต่วัยเด็ก พันธกิจเยาวชน ความรัก ศีลสมรส การเลือกคู่ครอง ให้เห็นคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เคารพตนเองและผู้อื่น บุคคลต่างเพศ มานุษยวิทยาคริสตชน แผนการความรักของพระเจ้าที่มีต่อมนุษย์แต่ละคน กระแสเรียกของการแต่งงานและนักบวช การสร้างครอบครัว เรื่องเพศของมนุษย์ เทววิทยาร่างกาย

เตรียมตัวเด็กและเยาวชน ให้ตัดสินใจแต่งงานอย่างดี (รักแท้คืออะไร? + การเลือกคู่ครอง) ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ หรืออาจได้รับบาดเจ็บจากประสบการณ์ทางอารมณ์และทางเพศ การสร้างความเกลียดชังต่อมิติทางศาสนา ความหมายที่แท้จริงของความรัก การมอบตนเองให้กับอีกฝ่ายหนึ่ง การรักและการถูกรัก พระศาสนจักร

ข) #ระยะกลาง การเตรียมตัวรับศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการเริ่มต้นชีวิตคริสตชน (ศีลล้างบาป ศีลมหาสนิท ศีลกำลัง) การเรียนคำสอนเพื่อเตรียมตัวรับศีลสมรส หรือการหมั้น อาจใช้เวลาประมาณ 1 ปี เพื่อทบทวนอัตลักษณ์ของศีลล้างบาป (หรือ 2-3 เดือน สำหรับผู้ที่พึ่งทบทวนคำสอนหรือรับศีลล้างบาปตอนเป็นผู้ใหญ่แล้วไม่นาน) ใช้โอกาสนี้สอนคำสอนเรื่องความรักและศีลสมรสไปด้วย เพื่อให้คู่สมรสรู้จักกัน (ปรับตัว) ดีมากยิ่งขึ้น (นิสัย) ในระดับส่วนตัว บางคนอาจห่างไกลจากการปฏิบัติศาสนกิจ หรือลืมข้อคำสอนสำคัญไปหมดแล้ว อาจจบลงด้วยพิธีต้อนรับคู่สมรส

ค) #การเรียนคำสอนแต่งงาน (ตามที่เรียนกันตามปกติ)

1) #ระยะใกล้ชิด เพื่อเตรียมตัวแต่งงานประมาณ 1 ปี การหมั้น เพื่อทบทวนข้อคำสอนพื้นฐานของคริสตชน นำพวกเขาเข้ามาสู่ชีวิตของพระศาสนจักร เข้าเงียบ ฟื้นฟูจิตใจ ร่วมมิสซา รับศีลอภัยบาป จิตวิทยาชายหญิง การเปลี่ยนแปลงตนเองเพื่อคู่สมรส การครองรักครองเรือน … พิธีรับเข้าสู่ศีลสมรส อย่างมีความหมาย จบลงด้วยพิธีหมั้น หรือ “คำมั่นสัญญาว่าจะแต่งงาน”

2) #การเตรียมขั้นสุดท้าย (ก่อนแต่งงาน 2-3 เดือน หรือเข้าเงียบ 2-3 วันก่อนแต่งงาน) เป็นช่วงใกล้จะแต่งงาน มีการมอบสิ่งของเป็นสัญลักษณ์ เช่น คำภาวนาที่คู่สมรสสวดด้วยกัน การทบทวนเนื้อหาคำสอนทั้งหมด สาระสำคัญของศีลสมรส (3 ประการ: หนึ่งเดียว ให้กำเนิดบุตร เลี้ยงดูบุตร) กฎหมายพระศาสนจักร กฎหมายบ้านเมือง

การเตรียมพิธีกรรมในวันสมรส ความหมาย การมีส่วนร่วม การฟื้นฟูจิตใจ (ท่ามกลางการเตรียมพิธีสมรสด้านอื่น ๆ) การรับศีลอภัยบาป (ศีลกำลัง) บทบาทของพ่อแม่พยาน บิดามารดา สมาชิกในครอบครัว

3) #การติดตามในช่วง 2-3 ปีแรก การเข้าสู่ “สถานะถาวร” ควรมี “การอบรมต่อเนื่อง” และ “เพื่อนร่วมเดินทาง” การร่วมกิจกรรมกับคู่สมรสอื่นในเขตวัด เพื่อให้มีความเข้าใจข้อความเชื่อ พิธีกรรม ศีลศักดิ์สิทธิ์ และพระธรรมล้ำลึกต่าง ๆ (บางคนที่พึ่งรับศีลล้างบาป)

การเรียนรู้การปรับตัวเข้ากับคู่สมรส เอาชนะความแตกต่าง ความคาดหวัง กำจัดความขัดแย้ง (คนรุ่นใหม่) การเฉลิมฉลองวันครบรอบแต่งงาน การรื้อฟื้นคำสัญญาแต่งงานทุก 5 ปี มีบันทึกการแต่งงาน การรับศีลศักดิ์สิทธิ์ ขั้นตอนต่าง ๆ ความสุข ความทุกข์ เพื่อให้เห็นพระหรรษทานของพระจิตเจ้าในครอบครัว เมื่อเกิดความทุกข์ยาก ได้รับความช่วยเหลือจากบุคคลต่าง ๆ เพื่อปกป้องและทำให้ความเป็นหนึ่งเดียวมีความมั่นคง “การเติบโตในความรัก ทำให้การสมรสมั่นคง” โดยมีพระคริสต์เป็นศูนย์กลาง

4) #คู่สมรสที่มีวิกฤติ การทะเลาะเบาะแว้ง การเข้าใจผิด ความแตกต่าง เศรษฐกิจ ครอบครัวของทั้งสองฝ่าย มือที่สาม การเลี้ยงลูก การทำงาน การแยกกันอยู่ การหย่าร้าง การไม่สามารถรับศีลมหาสนิทได้ การเลี้ยงดูบุตร อาศัยความร่วมมือกันของทุกฝ่าย” ความสุภาพของคู่สมรส” การควบคุมอารมณ์ สมาชิกในครอบครัว ปู่ย่าตายาย คริสตชนฆราวาส พ่อแม่พยาน ฯลฯ (การจัดตั้งศูนย์ให้ความช่วยเหลือเฉพาะทางในสังฆมณฑล)